วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสำหรับนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย

                                                                นายสุพจน์     อินแจง
                                                                                                                รหัสนิสิต  51499130184
สรุปวิจัยปริญญาเอก                           สาขาวิชา การจัดการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา (ภาคนอกเวลา)                      
ชื่อเรื่อง       การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยข้องกับสุขภาพสำหรับนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย    
ชื่อผู้วิจัย บุญเลิศ   อุทยานิก (ปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฏับัณฑิต (พลศึกษา)สาขาวิชาพลศึกษาภาควิชาพลศึกษาปีการศึกษา     2553

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                เพื่อสร้างรูปแบบพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสำหรับนักเรียนวันตอนปลาย

ขอบเขตการวิจัย
          การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนาซึ่งขอบเขตขอการวิจัย ประกอบด้วย
1.การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสำหรับ
นักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย ที่ประกอบไปด้วย กระบวนการวินิจฉัยและประเมินสถานะสุขภาพของนักเรียน และกระบวนการพัฒนาสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในแต่ละองค์ประกอบ
                2. การทดสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพทงกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่สร้างขึ้นนั้นผู้วิจัยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนอายุระหว่าง 15-18 ปี ของโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม ปีการศึกษา 2551  กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก
                3. นำรูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสำหรับนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและทดลองใช้แล้วขยายผลกับ 3โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนทีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร       
การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ของโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม  จำนวน 90 คน  สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากนักเรียนที่ผ่านการคัดกรองด้วยการวินิจฉัยและประเมินสถานะสุขภาพและทดสอบสมรรถภาพทางกาย  FITNESSGRAM
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสถานะสุขภาพนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟ่าของ Cronbach เท่ากับ 0.75    2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของ Cooper Institute for Aerobic Research  และเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายของกรุงเทพมหานครที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  3) โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนา ก) ความอดทนของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด  ข) ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อท้อง และ ค) ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและต้นขาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น  มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 นำกลุ่ม ตัวอย่าง 90 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน (ชาย 15  หญิง 15 คน) เข้าร่วมฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความอดทนของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้องและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและต้นขา กำหนดให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการฝึกโปรแกรม 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มก่อนและหลังการฝึก
ผลการศึกษา
                ผลการศึกษา พบว่า คะแนนจากการทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย 8 สัปดาห์ ของนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายนายการวิ่งไป-หลับ  20 เมตร ลุก-นั่งตามจังหวะ  นั่งงอเข่าและเหยียดขาข้างหนึ่งก้มตัวไปข้างหน้า และค่าดัชนีมวลกายมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาครั้งนี้ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย และคู่มือการออกกำลังกายที่เหมาะสม